เมนู

ธาตุ. ความกรุณา กิริยาที่กรุณา สภาพที่กรุณาในสัตว์ทั้งหลาย กรุณา
เจโตวิมุตติในสัตว์ทั้งหลาย นี้เรียกว่า อวิหิงสาธาตุ. แม้ในสุกกปักษ์นี้
กถาทั้ง 2 อย่าง คือ สัพพสังคาหิกากถา อสัมภินนกถา ก็พึงทราบตามนัย
ที่กล่าวมาแล้วนั่นแล. ข้อความที่เหลือง่ายทั้งนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลายดังต่อไปนี้ บทว่า วิตกฺกเย ได้แก่
ในหมวด 3 แห่งวิตก. บทว่า นิรากเร ความว่า ออกจากสันดานของตน
คือพึงบรรเทา อธิบายว่า พึงละ. บทว่า สเว วิตกฺกานิ วิจาวิตานิ สเมติ
วุฏฺฐีว รชํ สมูหตํ
ความว่า อุปมาเสมือนหนึ่งว่า ในเดือนท้ายฤดูร้อน
เมื่อเมฆนอกกาลเวลา ก้อนใหญ่ตกต่ำลงมา ฝนจะให้ฝุ่น ที่กองรวมกันอยู่ที่
แผ่นดิน ที่ลมพัดฟุ้งขึ้นโดยทั่ว ๆ ไป ให้สงบลงได้ในทันใด ฉันใด พระ-
โยคาวจรนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน จะให้วิตกที่ท่องเทียวไปในมิจฉาวิตก และ
วิจารที่สัมปยุตด้วยวิตกนั้น สงบคือระงับลงได้ ได้แก่ตัดขาดไป และพระ
โยคาวจรผู้เป็นอย่างนั้น มีใจสงบด้วยวิตก คือมีอริยมรรคจิต ที่ชื่อว่า
สงบแล้วด้วยวิตก เพราะระงับมิจฉาวิตกทุกอย่างได้ จะได้ถึง คือได้บรรลุ
สันติบท คือพระนิพพานในโลกนี้แหละ คือในปัจจุบันนี้ทีเดียว.
จบอรรถกถาอันธการสูตรที่ 8

9. มลสูตร


ว่าด้วยมลทินภายใน 3 ประการ


[268] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อกุศลธรรม 3 ประการนี้ เป็นมลทิน
ภายใน (มลทินของจิต) เป็นอมิตรภายใน เป็นศัตรูภายใน เป็นเพชฌฆาต